บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

กายในกาย-ดังตฤณ[01]


จากการอยากค้นว่า “กายในกาย” ภาษาอังกฤษจะเขียนอย่างไรดี ผมไปพบกระทู้ถามในลานธรรมเสวนา (http:larndham.org) หัวข้อ “กายในกายคืออะไร” ของคนที่ชื่อใช้ว่า “ประพจน์prapoj_1@yahoo.com

ดังภาพ


จากภาพจะเห็นว่า คุณดังตฤณ สงสัยคนที่เป็นนักเขียน  เข้ามาตอบก่อนคนอื่นเลย  

เป็นคำตอบที่แสดงความเป็น “สมองหมา ปัญญาควาย” จริงๆ ไม่รู้เขียนหนังสือขายออกไปได้อย่างไร

คำว่า “กายในกาย” นั้น  คำว่า กายคำที่หนึ่งกับกายคำสอง จะต้องเป็นความหมายเดียวกัน จะเป็นเป็น “กายส่วนย่อยในกายส่วนใหญ่” ได้อย่างไร

แล้วไอ้ “กายส่วนย่อยในกายส่วนใหญ่” มันหมายถึงอะไรกันแน่  นิ้วชี้ในมือหรือไง  หรือดวงตาดำในดวงตาทั้งหมดหรือไง

แล้วยังมากล่าวอ้างแบบหน้าด้าน ไม่อายพระพุทธองค์อีกว่า “พระองค์ตรัสไว้ในมหาสติปัฏฐานสูตรชัดเจน” ครับ   

ผมไม่เถียงว่า พระพุทธองค์ตรัสไว้อย่างชัดเจนในพระไตรปิฎก แต่พวกสมองหมา ปัญญาควายอย่างดังตฤณเป็นต้น  ไม่เคยเข้าใจอย่างชัดเจนเอง

มั่วไปหมด  ไม่รู้จะอธิบายอย่างไร ก็ไปอ้างสติปัฏฐานสูตร 

มีคนใช้นามแฝงว่า “เอก” เข้าแจมเป็นความเห็นที่สอง ดังนี้

การพิจารณาวิปัสสนา มีดังนี้

1.ขันธ์ 5 2.อายตนะ 12 3.ธาตุ 18 4.อินทรีย์ 22 5.อริยสัจจ์ 4 6.ปฏิจจสมุปบาท 12

ทั้ง 6 หมวด ย่อลงได้แก่การกำหนดปัจจุบันสันตติของ รูป นาม (กายและจิตใจ) มีผลเป็น 3 ขั้นคือ

ต้น -ทำลายความหยาบคายของกิเลสที่นำไปสู่อบายภูมิได้แม้ชีวิตในปัจจุบันก็อยู่ได้ด้วยการไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น

กลาง -ทำลายความโกรธและความกระหายในเมถุนธรรมได้เด็ดขาดมีอุปการะแก่สังคมมาก

สูง- สิ้นความทุกข์และความเศร้าโศกทั้งปวงมีอุปการะแก่สังคมมากอย่างหาประมาณไม่ได้

การฝึกแล้วแต่ถนัดอะไร มีจริตอย่างไรก็เลือกอย่างนั้น เช่น พระมหากัสปะ ชอบการพิจารณา ขันธ์ 5 เสมอก็ยึดอย่างนั้นโดยเคร่งครัด แม้บรรลุอรหันต์แล้วก็ตาม ขันธ์ 5 ก็จัดเป็นการพิจารณาปัจจุบัน สันตติธรรมแบบกายในกายด้วย

หรือหากมีจริตด้าน พิจารณาอินทรีย์ ก็ไล่ตั้งแต่เส้นผม ขน หนังตา พังพืด อะไรก็ไล่มาเรื่อย ก็จัดเป็นกายในกายเช่นกัน

แต่ไม่ว่าอย่างไหน รวบยอดแล้ว ก็เข้าสู่หลักไตรลักษณ์ทั้งสิ้น

เมื่อทราบโดยละเอียดแล้ว ก็ให้พิจารณาเป็นอุเปกขาธรรม ปล่อยวาง ไม่ยึดติด ไม่อยากอะไร อีกต่อไป มีความเป็นอุเปกขาธรรมขั้นอริยปรากฏเนืองๆทุกอิริยาบถ

มีคนมาให้ความเห็นแบบนอกลู่นอกทางไป  2-3 ความเห็น  ในความเห็นที่ 5 คุณหนู40 ได้เข้ามาให้ความเห็นดังนี้ 


ซึ่งก็สมองหมา ปัญญาความพอๆ กับดังตฤณ  ไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร  ผมไม่รู้ว่า จริงๆ แล้ว คุณหนู40 ตัว นี่แกจะเข้าใจที่แกเขียนมาหรือเปล่า

ไอ้ที่เขียนๆ มาก็จำเขามาทั้งนั้น

ต่อมาเข้าประเด็นครับ  ในความเห็นที่ 6 คุณปารคเวสิโน ได้เข้ามาให้ความเห็นดังนี้

หลายท่านว่า กายในกาย คือ กายส่วนย่อยในกายส่วนใหญ่ เช่น ลมหายใจ อวัยวะน้อยใหญ่ภายใน ถ้าอย่างนั้น จิตในจิต เวทนาในเวทนา ธรรมในธรรม จะหมายความว่าอย่างไร

จะหมายถึง จิตย่อยในจิตใหญ่ เวทนาย่อยในเวทนาใหญ่ ธรรมย่อยในธรรมใหญ่หรือ จิตย่อยเป็นอย่างไร ฯลฯ นี่คือปัญหาของผู้อ่านพระไตรปิฏก

ผู้แปลได้แปลไว้เป็นภาษาไทยตามความรู้ของภาษา แต่ความหมายที่แท้จริงไม่ใช่อย่างนั้น กายภายนอกหมายถึง กายที่เห็นและรู้ด้วยตาเนื้อ ส่วนภายภายในรู้ได้ด้วยทวารที่ ๖ คือ มโนทวาร

หากเข้าใจในสภาวธรรมเช่นนี้ จะเข้าตลอดหมดจนถึงเวทนา จิต ธรรม

การอธิบายในทางปริยัติ สามารถอธิบายได้ย่อๆ สั้นๆ เพียงเท่านี้ แต่วิธีจะเข้าถึงสภาวธรรมของจริงนั้น ต้องรู้ว่า นามรูปเป็นอย่างไร ต้องรู้วิปัสสนาภูมิ เพื่อเข้าสู่สติปัฏฐานได้ 

ส่วนที่คุณเอกพูดถึงพระมหากัสสปเถระว่า พิจารณาแต่ขันธ์ ๕ เสมอเพราะถนัดอย่างนั้นชอบพิจารณาแต่อย่างนั้น  ขอให้พิจารณาพระไตรปิฏกใหม่ ไม่ใช่ว่าท่านใดถนัดอย่างใดจะพิจารณาแต่อย่างนั้น แท้ที่จริง ทุกขสัจจ์ และ สมุทัยสัจจ์ ล้วนแล้วก็แต่เป็นขันธ์ ๕ นั่นเอง

ขันธ์ ๕ โดยย่อก็คือ รูปนามนั่นเอง ดังนั้น ไม่ว่าจะพิจารณาวิปัสสนาภูมิใหน เช่น อายตนะ ธาตุ ปฏิจจสมุปบาท ฯลฯ ซึ่งเป็นการวิปัสสนาในแง่มุมต่างๆ กัน ต่างก็สงเคราะห์เข้าขันธ์ ๕ ซึ่งก็คือ รูปนาม นั่นเอง

ถ้าจะกล่าวไปแล้ว พระอริยบุคคลทุกองค์ทั้งภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ตลอดจนพระศาสดา ต่างก็ได้บรรลุสภาวธรรม คือ ขันธ์ ๕ นี้เอง ไม่ใช่อย่างอื่นใดเลย

เมื่อเข้าใจสภาวธรรมแล้ว ย่อมเข้าใจถึงวิปัสสนาภูมิอื่นๆ ต่อๆ ไปด้วย คือ เข้าใจขันธ์ ๕ แล้ว เมื่อมองอีกแง่มุมหนึ่ง ในแง่ของอายตนะ ก็จะเข้าใจโดยง่ายทีเดียวเพราะก็คือ สภาวธรรมเดียวกันนั้นเอง 

ส่วนที่คุณหนู40 บอกว่า ก็คือ อย่าส่งจิตออกนอกนั่นเอง นั้น ไม่ถูกหรอก การไม่ส่งจิตออกนอกนั้น ตรงกับในความหมายของการสำรวมอินทรีย์ คือ เห็นสักแต่ว่าเห็น ได้ยินสักแต่ว่าได้ยิน ไม่ถือเอานิมิตและอนุพยัญชนะ ต่างหาก

การสำรวมอินทรีย์เป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างยิ่งอย่างหนึ่งในการเจริญสติปัฏฐาน แต่ไม่ใช่ความหมายของกายในกาย

ส่วนที่ว่า กายเวทนาจิตธรรมนั้น เป็นวิชาชั้นสูง เป็นการแก้ไขจุดบกพร่องของฌาน ทำให้เกิดญาณไปพร้อมกันนั้น ผิดทั้งหมด

สติปัฏฐานเป็นบุพมรรค คือ เป็นทางสายเดียว (เอกายโน มัคโค) ที่จะนำไปถึงการบรรลุมรรคผล ท่านจึงจัดไว้เป็นอันดับแรกของโพธิปักขิยธรรม ๓๗

ทางนี้เป็นทางที่พระศาสดาชี้ไว้ว่า ไม่มีทางสายอื่นที่จะบรรลุมรรคผลนิพพานได้ ถ้าไม่เริ่มจากการเจริญสติปัฏฐาน

ในการเจริญสติปัฏฐานนั้น ในที่สุดจะเกิดสมาธิ และในที่สุดเกิดปัญญา ไม่ใช่เป็นการแก้ข้อบกพร่องของฌาน

ฌานก็ส่วนฌาน ผู้บรรลุฌานอาจไม่เกิดวิปัสสนาปัญญาอันเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุดที่จะทำให้เกิดมรรคก็ได้

ขณะเดียวกัน การเจริญสติปัฏฐานมีบางบรรพต้องได้ฌานถึงขึ้นอัปปนามาก่อน บางบรรพเพียงขณิกสมาธิ แล้วมุ่งวิปัสสนาโดยตรง

พระอรหันต์ผู้บรรลุมรรคผลจากสติปัฏฐานที่เป็นวิปัสสนาล้วนๆ โดยไม่ได้ฌาน (อัปปนา) นั้น จึงเรียกว่า สุกขวิปัสสก ท่านไม่ได้อภิญญา แสดงอิทธิฤทธิ์ไม่ได้ ซึ่งท่านเหล่านี้ยังมีอยู่มากกว่าพวกที่ได้ฌานแล้วแสดงฤทธิ์ได้ 

สรุป การจะเข้าใจถึงสภาวธรรมของจริง รู้ซึ้งถึงความหมายของคำว่า กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรมนั้น อย่างน้อยต้องเข้าใจสภาวะของนามรูปตัวจริงก่อน

แยกแยะการรู้ด้วยปัญจทวาร และการรู้ด้วยมโนทวารได้ก่อน จึงจะเข้าได้ว่า กายภายนอก คือ กายที่เราๆ รู้อยู่เห็นอยู่ตามปกติทั่วไป

ส่วนภายภายในนั้น คือ สภาวะของกายที่แท้จริงซึ่งถูกปิดบังอยู่ ต่อเมื่อทำลายฆนสัญญา (ความรู้สึกที่ยังเป็นว่าเป็นกลุ่มก้อน) ได้ ก็จะเข้าใจทันทีว่า กายภายในคืออะไร

จากคุณ : ปารคเวสิโน [ 28 ก.พ. 2543 / 08:55:40 น. ]

เพิ่งรู้ว่า เขาเถียงกันไปตั้งแต่ปี 2543 ผ่านมาแล้ว 11 ปี  ต่อจากนั้น ดังตฤณก็เจ๋อเข้ามาอีก ด้วยข้อความนี้

ความคิดเห็นที่ 7 : (ดังตฤณ)

เห็นจิตในจิต ไม่ใช่เห็นจิตย่อยในจิตใหญ่ครับ แต่เห็นจิตในแต่ขณะจิตประเภทหนึ่งๆ จากจิตหลายๆ ประเภท  เช่น ขณะหนึ่งเป็นกุศล

ก็คือรู้จากหนึ่งในหลายๆ ประเภท  คือแบ่งเป็นหลักๆ ได้แก่กุศล อกุศล และเป็นกลาง

หากตามรู้ได้ทั่วถึงทุกประเภท ก็จะเข้าใจภาพรวม ว่าจิตมีลักษณะอย่างไรได้บ้าง แปรผันไปอย่างไรได้บ้าง และที่สำคัญคือจิตทุกประเภทเกิดขึ้นแล้วต้องดับไป

แปรไปเป็นอื่นเสมอ

จากคุณ : ดังตฤณ [ 28 ก.พ. 2543 / 09:06:28 น. ]

ตอนนี้ ขอให้ท่านผู้อ่านได้ใช้เวลาอันมีค่าของท่านอ่านไปก่อน ช่วยวิพากษ์วิจารณ์เงียบไปก่อนว่า เห็นด้วยไม่เห็นด้วยอย่างไร

จะร่วมมาวิพากษ์วิจารณ์เลยก็ได้  แล้วผมจะมาวิพากษ์วิจารณ์ต่อไป



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น