บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

กายในกาย-ดังตฤณ[02]


ในบทความ “กายในกาย-ดังตฤณ[01]” ผมได้นำเสนอความเป็นสมองหมา ปัญญาควายของสาวกยุบหนอพองหนอไปแล้วบางส่วน

ในส่วนสุดท้ายของบทความที่แล้ว เป็นของ “ดังตฤณ” ซึ่งผมสงสัยว่า น่าจะเป็นคนๆ เดียวกับกับนักเขียนใหญ่  แต่ก็สมองหมา ปัญญาควาย เหมือนคนอื่นๆ เช่นกัน

คือ “ไม่รู้” แต่อยากอวดตัวว่า “รู้”

หนแรกตอบคำถามว่ากายในกายคือ กายส่วนย่อยในกายส่วนใหญ่  พอมีคนถามว่า อย่างนั้นจิตในจิตก็ต้องเป็นจิตย่อยในจิตใหญ่  ใช่ไหม

ดังตฤณเข้ามาตอบปากคอสั่นดิกๆ เป็นปลาหมอถูกทุบหัวว่า เห็นจิตในจิต ไม่ใช่เห็นจิตย่อยในจิตใหญ่

ผมอ่านแล้ว ปวดกะบาลแทนพวกสมองหมา ปัญญาควายเหล่านั้น 

มาตรฐานไม่มีเลย  ตรงกายในกาย เป็น กายส่วนใหญ่ในกายส่วนใหญ่  แต่พอจิตในจิต เป็นอีกแบบหนึ่ง เวทนาในเวทนาเป็นอีกแบบหนึ่ง ธรรมในธรรมเป็นอีกแบบหนึ่ง

มันหาจุดร่วมที่เหมือนกันไม่ได้เลย 

แสดงว่า คนเขียนมันโง่ แต่มันอยากอวดฉลาดเท่านั้น  การอธิบายจะต้องมี “หลัก” ให้ยึดพอสมควร  ไม่ใช่เป็นอะไรก็ได้ ตามใจฉันเรื่อยไป

ไอ้พวกนี้ ตายเมื่อไหร่ ผมจะไปขออนุญาตพวกที่มีหน้าที่ทำโทษพวกสัตว์นรกทั้งหลาย ผมขอกราบเรียนอนุญาต ขอทำงานแทนสักวันสองวันเถอะน่า

หลังจากดังตฤณแสดงความเป็นสมองหมา ปัญญาควายไปแล้ว  สมองหมา ปัญญาควายคนต่อไป ใช้ชื่อว่า “เอก” เข้ามาแสดงความโง่อีก 2 ความเห็น  

แล้ว คุณปารคเวสิโน ได้เข้ามาอีกครั้งในความเห็นที่ 10 ดังนี้

ตามที่คุณดังตฤณว่า เห็นจิตในจิต หมายถึง เห็นจิตแต่ละขณะ แต่ละประเภทในหลายๆ ประเภท ถ้าอย่างนั้น ผมขอยกตัวอย่าง ในขณะที่เราเกิดโทสะอยู่ ขณะนั้นเอง เกิดสติปัฏฐานขึ้น จิตที่เรารู้ว่า มีโทสะนั้นควรเป็นจิตอะไร ควรเป็นจิตภายในหรือไม่  

ถ้าเป็นเช่นนั้น จะมีใครไปพิจารณาจิตประเภทต่างๆ ทั้งหลายในภาพรวม ซึ่งเป็นจิตภายนอก จะเกิดประโยชน์อะไร ความมุ่งหมาย หลักจากปริยัติชี้ให้เห็นชัดเจนว่า ปกติสิ่งเรารู้โดยทั่วไปว่า เป็นกาย เวทนา จิต ธรรม นั้น ท่านต้องการให้พิจารณาให้ลึกซึ้งเข้าไปอีกชั้นหนึ่ง คือ ให้พิจารณาเข้าไปถึงภายใน ดังนั้น ถ้าจะว่า เห็นจิตมีโทสะเป็นการแยกแยะเห็นจิตเป็นภายในจึงไม่สมเหตุผล

ถ้าจะว่า เห็นจิตในขณะมีโทสะนั้น เป็นจิตภายนอก ส่วนจิตภายในคือ เห็นลึกเข้าไปถึงจิตแต่ละขณะ ก็มีข้อโต้แย้งว่า จิตในขณะที่เกิดโทสะ คือ เกิดจากโทสเจตสิก นั้น

เมื่อเกิดสติเจตสิก อโมหะเจตสิก (ปัญญาเจตสิก) เข้าสู่ทางของสติปัฏฐานแล้วนั้น ย่อมเกิดในมโนทวารวิถีติดต่อกันพิจารณาถึงความมีโทสะนั้น ก็ย่อมไม่สามารถรู้ถึงขณะจิตแต่ละขณะเลย

อย่าลืมว่า จิตแต่ละขณะที่เกิดขึ้นใน ๑ วิถีในมโนทวารนั้น มีอย่างมาก ๑๒ ขณะในอารมณ์ที่ปรากฏชัด การจะพิจารณาโทสะที่ปรากฏได้ในแต่ละขณะจิตที่ปรากฏชัดก็ต้องพิจารณาในชวนจิต ซึ่งใน ๑ วิถีที่ว่านั้น มีเพียง ๗ ขณะจิตเท่านั้น

ดังนั้น ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่จะมีปุถุชนทั่วไปสามารถรู้ถึงจิตแต่ละขณะได้เลย

ถ้าจะแปลว่า จิตภายใน หมายถึงจิตแต่ละขณะแล้ว สติปัฏฐานก็ไม่น่าจะเป็นบุพมรรค คือ มรรคเบื้องต้นที่จะนำไปสู่โลกุตตรมรรค แล้ว เพราะเหนือกว่าความสามารถของปุถุชนที่จะสามารถมีฌานจิตรู้ถึงจิตแต่ละขณะได้

ขอยกตัวอย่างประกอบให้ชัดยิ่งขึ้น คือ การที่เรานึกถึงเรื่องราวอะไรสักเรื่องหนึ่งนั้นจะประกอบด้วยจิตไม่ใช่เพียงสิบๆ ขณะเท่านั้น แต่อย่างน้อยต้องเป็นร้อยๆ พันๆ ขณะ ในชั่วความคิดเพียงเสี้ยววินาทีเดียว

ในทำนองเดียวกันนี้ ถ้าจะแปลว่า เวทนาภายใน ก็คือ เวทนาแต่ละประเภทใน ๙ ประเภท ในเวทนานุปัสสนานั้น ต้องขอถามว่า การที่เรามีความรู้สึกทุกข์กาย ทุกข์ใจ หรือ สุขกาย สุขใจ นั้น จะมีใครมานึกถึงความรู้สึกทั้งหมดทั้ง ๙ ประเภทเป็นภาพรวม เพื่อจะได้พิจารณาเป็นเวทนาภายนอกบ้าง

แล้วจะทำไปเพื่อประโยชน์อะไร ในทำนองเดียวกันนี้ เวทนาภายใน จะหมายถึงอะไร จะหมายถึง แต่ละขณะจิตที่เกิดเวทนาอย่างนั้นๆ ขึ้นหรือ ถ้าอย่างนั้นก็เป็นการเอาจิตตานุปัสสนามาปนกับเวทนานุปัสสนาแล้ว

ขณะที่เรามีสติ (สติมา) และความรู้ตัว (สัมปชาโน) เกิดขึ้นในขณะที่จิตเรามีโทสะนั้น การที่เรารับรู้ถึงอาการแห่งโทสะนั้นเช่นความขุ่นข้องหมองใจ ความร้อนซึ่งทนได้ยาก จนทำให้เกิดสติสัมปชัญญะขึ้น (สำหรับคนที่เจริญสติปัฏฐานอยู่เสมอนั้น) โทสะที่เกิดขึ้นและรับรู้ได้ในคราวแรกนั้นเองเป็นจิตภายนอก

แต่ท่านให้พิจารณาลึกลงให้รู้ซึ้งขึ้นอีกชั้นหนึ่ง คือ เอาตัวเราออกจากความมีโทสะนั้น แล้วพิจารณาถึงตัวจิตที่เราคิดว่าเป็นของเรานั้นเอง ว่ามันเกิดขึ้นอยู่ขณะนั้น เกิดขึ้นเพราะอะไรเป็นเหตุปัจจัย ในที่สุด ดับไป

พูดง่ายๆ ว่าใช้ความรู้สึก พิจารณาสภาวธรรมที่เราติดมาตลอดว่า เป็นตัวตนของเราที่มีโทสะนั้นอีกชั้นหนึ่ง นั่นคือ ใช้ใจรู้และพิจารณาจิตที่มีโทสะนั้นอีกทีหนึ่ง ดังนั้น ความมีโทสะที่ปกติเรามีอยู่เพราะติดอยู่ที่อารมณ์ (สิ่งที่รับรู้)

เช่น เราโกรธที่เพื่อนเราพูดดูถูกเรา เรื่องราวที่เพื่อนดูถูกเราแล้วเราเอามาคิดแล้วขุ่นเคืองใจอยู่ ซึ่งถามว่า รู้หรือไม่ว่าโกรธ  ตอบได้ว่า รู้ว่าโกรธ

จิตที่โกรธอยู่ซึ่งเรารู้นั้นจึงเป็นจิตภายนอก ต่อเมื่อพิจารณาลึกลงไปโดยดูจิตที่ประกอบด้วยโทสเจตสิกอยู่นั้น ว่ามันเกิดอย่างไร ดับอย่างไร การจะรู้ได้เช่นนี้ต้องใช้อะไรดู ก็คือ ต้องรู้ได้ด้วยใจ (มโนทวาร) จิตที่มีโทสะอยู่แต่ถูกรู้ได้ด้วยใจอีกทีหนึ่งนั้นเอง เป็นจิตภายใน

เสมือนหนึ่ง ชายหญิงแฟนกันคู่หนึ่งพากันไปดูหนัง ฝ่ายหญิงดูไปร้องไห้บ้าง หัวเราะบ้าง เพราะบทบาทของตัวละครในหนัง ที่เป็นเช่นนั้น เพราะหญิงนั้นไปยึดเป็นตัวเป็นตนเกิดอัตตาขึ้น

โดยรู้สึกเหมือนว่า เป็นนางเองบ้าง พระเอกบ้างในหนังนั้น แต่ฝ่ายชายไม่ได้ตื่นเต้น หวาดเสียว สะทกสะท้อนไปกับหนังนั้น เพราะจิตใจไม่ได้อยู่ที่หนัง แต่รู้ตัวอยู่ตลอดเวลาว่า ตนนั้นกับหญิงคนรักกำลังดูหนังอยู่

อาจจะเป็นเพราะกำลังหมายมั่นปั้นมืออยากจะจับมือแฟนเพราะมาดูหนังหลายครั้งแล้วยังหาโอกาสจับมือหล่อนไม่ได้สักที

การที่ชายนั้นไม่เป็นตัวตนเกิดขึ้นไปกับหนังเพราะพิจารณาดูตัวอยู่ ตัวตนที่ปรากฏในหนัง (ซึ่งคนปกติจะไม่รู้ว่าเกิดตัวตนขึ้น โดยหลงว่าเราอยู่ในหนังไปด้วยนั้น) เป็นตัวภายนอก ส่วนตัวตนจริงๆที่นั่งดูหนังอยู่นั้นจึงเป็นตัวภายใน

พระศาสดาท่านชี้แนะสติปัฏฐานเพื่อให้เห็นทำนองเดียวกันนี้ แต่ให้ลึกลงไปอีกชั้นหนึ่ง คือ ท่านให้ดูตัวตนจริงๆ ของเรานี้เอง ซึ่งเราเข้าใจและติดมาตลอดตั้งแต่อ้อนแต่ออกว่า เป็นตัวของเรานี้

ให้รู้ว่าตัวของเราที่เรารู้และเข้าใจมาตลอดอย่างนี้ ที่แท้แล้วเป็นวิปลาส คือ ความเข้าใจผิดมาตลอด

ท่านให้ดูถึงตัวตนที่ลึกลงไปภายในอีกชั้นหนึ่งโดยอาศัยสติ (สติมา) สัมปชัญญะ (สัมปชาโน)  และ ความเพียร (อาตาปี) ให้รู้ว่า ที่แท้ก็ไม่มีตัวอยู่เลย ประกอบขึ้นมาจากตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นรู้รส กายรู้สัมผัส และใจรู้ธัมมารมณ์ ทั้ง ๖ อย่างนี้มาวิ่งสลับกัน

ในทำนอง multimedia แต่เร็วมากและต่อเนื่องกันอยู่ตลอดจนกระทั่งเกิดความรู้สึกอยู่ตลอดว่ามีเรา เป็นเรา

ถ้าเราลองนึกภาพว่า เราสูญเสียความสามารถในการเห็นไป โลกแห่งภาพทั้งหลายจะยังมีอยู่หรือ ถ้าใครถามคนตาบอดมาแต่กำเนิดว่า ที่เห็นอยู่หนะเป็นสีอะไร เขาก็จะตอบไม่ได้ เพราะแม้แต่สีดำเป็นอย่างไรก็ยังไม่รู้เลย

ถ้าลองนึกต่อไปว่า เราสูญเสียความสามารถในการดมกลิ่น ในการรู้รส ในการรับรู้สัมผัส (นึกถึงตอนถูกหมอฟันฉีดยาชามา)

สุดท้ายถ้าสูญเสียความสามารถในการฟัง เราจะเหลืออะไร จะเหลือแต่ความนึกคิดอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งถ้าเราไม่มีความสามารถนั้นมาตั้งแต่กำเนิดแล้ว ความนึกคิดของเราที่มีอยู่จะมีอยู่อย่างไร

ภาพอะไรๆ ก็ไม่เคยเห็นมาก่อน เสียงอะไร ความรู้อะไร จินตนาการอะไร ก็ไม่มีมาก่อนเลย โลกทั้งหลายยังมีอยู่หรือ ที่เหลืออยู่ก็คือ อรูปโลก เมื่อลองนึกอย่างนี้ก็จะพอเดาๆ (แค่เดาเท่านั้นเพราะเรารู้โลกทั้งหลายเสียแล้ว) ว่าผู้ที่เกิดในอรูปพรหมภูมิ จะรู้สึกอย่างไร มีแต่ใจคิดได้อย่างเดียว และจะคิดได้แต่เฉพาะโดยความรู้ที่มีอยู่เดิมด้วย ไม่สามารถจะรับรู้สิ่งใหม่ๆได้

เพราะเหตุนี้ พระศาสดาจึงปรารภถึงท่านอาฬารดาบส อุทกดาบส ว่า มหาชานิโย (ฉิบหายใหญ่แล้ว)

เมื่อพิจารณากายในกาย เวทนาในเวทนา ฯลฯ ย่อมเป็นทางซึ่งเป็นทางเดียวเท่านั้น ที่จะพาไปให้รู้ถึงสามัญลักษณะ คือ ลักษณะที่เป็นจริงเสมอ ซึ่งเป็นลักษณะร่วมกันของธาตุทั้งหลาย

ความรู้สึกสุขทุกข์ทั้งหลาย ความโลภโกรธหลงทั้งหลาย ความจำได้ทั้งหลาย เจตนาและความคิดปรุงแต่งทั้งหลาย ตลอดจนความรับรู้ในสิ่งต่างๆทั้งหลาย เช่น การเห็น การได้ยิน ฯลฯ ทั้งหมดนั้นล้วนแต่เกิดขึ้นมาเองเพราะเหตุปัจจัย (ไม่ใช่พรหมมาลิขิต ไม่ใช่มีเราเป็นตัวเป็นตนไปบังคับบัญชามัน)

และเกิดอย่างต่อเนื่องไม่หยุดยั้ง (แม้แต่นอนก็ยังฝัน) เกิดขึ้นแล้วก็หมดไปทันทีนั้น มีความไม่ยั่งยืนเหมือนกันหมด บังคับบัญชามันไม่ได้เลยเหมือนกันหมด และล้วนแต่เป็นทุกข์ไม่เคยได้ดับสงบจริงๆ เลยเหมือนกันหมด มีแต่พระนิพพานเท่านั้นที่จะเป็นที่ไม่เกิดของทุกสิ่งนั้น และสงบจริงๆ

ดังตฤณเข้ามาตอบอีกที ปากคอสั่นดิกๆ เป็นปลาช่อน ถูกทุบหัว เพราะ สั่นมากกว่าเดิมว่า


ผมจะบ้าตาย มันเป็นนักเขียนไปได้อย่างไร คุณปารคเวสิโน แกก็สมองหมา ปัญญาควายเหมือนกัน แต่เอาพระอภิธรรมมาขู่บ้าง  ดังตฤณไปไม่เป็นเลยวุ้ย..

หลังจากดังตฤณออกจากการถกเถียงกันไปนาน สงสัยหาของของกินในป่าข้างบ้าน  แล้วเข้ามาอีกที เมื่อเห็นว่า “ค่อนข้างจะปลอดภัยแล้ว” ดังนี้

ความคิดเห็นที่ 26 : (ดังตฤณ)

ชั่วข้ามวัน รู้สึกคุณปารคเวสิโนจะเปลี่ยนไปเป็นคนละคนเลยนะครับ  พูดอย่างนี้ค่อยน่ารักหน่อย

อ่านความเห็นที่ 25 ของคุณแล้วรู้สึกดีมากหลายๆ แง่คือ
1) เรื่องรูปนั่งที่กล่าวมา ผมเห็นด้วยทุกประการ
2) คุณเปลี่ยนสไตล์ชี้ขาดถูกผิด มาเป็นอ่อนน้อมถ่อมตน

แต่ก็มีจุดที่อยากเสริมดังนี้
ประการแรก สิ่งที่เห็นรูปนั่งนั้นเป็นจิต จิตต้องมีภาวะตั้งมั่นเป็นสมาธิ จึงเกิดความรู้ทั่วพร้อม  มีความแช่นิ่ง ทนนาน กระทั่งเหมือนนิมิตพิมพ์ติดจิต

ต่างกับนิมิตที่ปรุงขึ้นเองด้วยจินตนาการ คือมีของจริงรองรับ ซึ่งแกนอ้างอิงให้เกิดความแน่ใจว่าเป็นของจริง ก็ได้แก่ผัสสะทางกายนั่นเอง

กายายตนะ ซึ่งก็คือระบบประสาททั้งหมดนั่นเองเป็นสื่อนำความรู้ ซึ่งในขณะแห่งจิตที่รู้แจ้งทางกายทั่วพร้อม จะเห็นจริงว่าโผฏฐัพพะนั้น ไม่ได้มีแค่ผัสสะอันเกิดจากเนื้อกระทบของแข็งอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงผัสสะอันเกิดจากเนื้อกระทบความเบาบางของอากาศรอบตัวอีกด้วย

ประการที่สอง ภาวะสมาธิของจิตเป็นไปได้หลายระดับ  มีความหยาบ ความละเอียด ความชุ่มชื่น ความเบิกบาน สมาธิบางแบบแม้ให้ความรู้ทั่ว ก็อาจแข็งกระด้าง ขาดความสว่าง ตื่นพร้อม เบิกบาน และเป็นกลาง

เป็นสมาธิที่เริ่มต้นด้วยความรู้สึกในตัวตน ในบุคคลผู้นั่งพินิจดูสภาวธรรม สภาวธรรมจึงไม่ปรากฏตามจริง แต่ถูกบิดเบือนแต่แรกเริ่ม

ตรงนี้ เมื่อไม่เข้าใจคุณของสมาธิ ไม่เข้าใจว่าจะเอาสมาธิดีๆ มาใช้ในงานวิปัสสนาอย่างไร ก็เกิดการจู่โจม ว่าทำสมาธิอย่าให้ถึงอุปจาระหรืออัปปนา เพราะเอาไว้ใช้งานวิปัสสนาไม่ได้ ต้องเอาแค่ขณิกสมาธิเท่านั้น

ความจริงยิ่งทำสมาธิได้หนักแน่น ทำจิตให้อ่อนโยนควรแก่งานเท่าไหร่ ก็มีแนวโน้มจะรักษาอาการรวมดวง ตั้งมั่นรู้ไว้ได้นาน และมีความเป็นกลาง ปราศจากความซ่อนแฝงของอุปาทานในอัตตาเท่านั้น

ประการที่สาม การเห็นรูปนั่งไม่ได้เป็นประกันเสมอไป ว่าจะส่งผลให้เกิดความหยั่งรู้ลงไปในความไม่น่ายึดถือของกาย เมื่อเกิดนิมิตกายพิมพ์ติดจิตอย่างละเอียดทุกขณะ โดยความเบิกบานสบายใจแล้ว

ต้องมีการใส่ความพิจารณาเข้าไปในรูปนั่ง รูปยืน รูปเดิน รูปนอน ที่ปรากฏแก่มโนทวารอย่างปราศจากความเคลือบแคลงนั้น

โดยอุบายวิธีที่พระพุทธเจ้าประทานไว้ในทางใดทางหนึ่ง เพื่อให้จิตเกิดความเห็นแจ้ง และแหนงหน่ายคลายกำหนัด คลายความยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นตัวตน

เช่น โดยนัยของความเป็นธาตุ 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ สักแต่เห็นเป็นของแข็งเหมือนของแข็งที่จับต้องได้อื่นๆ ต่างจากของแข็งอื่นที่มีไออุ่น มีลมผ่านเข้าออก และมีน้ำหล่อเลี้ยง ซึ่งจิตรับรู้ตามจริงได้ทั้งสิ้น

ว่าก็สักแต่มีความเป็นธาตุเหมือนของอุ่น ลมไหว และน้ำในที่อื่น ใจก็คลายความยึดถือลงได้ สักแต่เห็นเป็นการประชุมของสภาวธรรม หรือจะพิจารณาเป็นอสุภะ น่ารังเกียจรังชัง ก็คลายความกำหนัดยึดติดได้เช่นกัน

หรือจะพิจารณาดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าเราไม่ได้สร้างสักอย่าง (ไม่ได้ออกแบบให้มีสองแขน ห้านิ้ว หนึ่งหัวเลยแม้สักนิดดังที่ปรากฏชัดแก่จิต) แต่ก็มีอุปาทานว่าของเรา ของเรา เท่านี้ก็กลายเป็นอนัตตสัญญากำกับความรู้ได้อีก

ประการที่สี่ การเห็นรูปนั่ง รูปยืน รูปเดิน รูปนอนที่ชัดแก่จิต  จิตรู้พร้อมในความเป็นรูปเช่นไร ก็สามารถเข้าถึงสัญญาในความเป็นรูปเช่นนั้น

เมื่อสาวลึกเข้ามาถึงจิตถึงใจ จนรู้จักว่ารูปอย่างไร ใจอย่างนั้น สักแต่เป็นสัญญาหมายรู้ หมายมั่น ก็เอาเป็นทางพิจารณาสัญญาได้ ว่าสัญญาเป็นอนิจจัง สัญญาไม่อาจรั้งตัวอยู่ได้

เพราะเหตุปัจจัยคือจิตไม่ทน หรือเหตุปัจจัยคือกายไม่ทน ก็จะเกิดเห็นภาพรวมทั่วพร้อม ว่าอย่างไรจึงเรียกอนัตตา เพราะเหตุแห่งความเป็นอนัตตา จึงควรปล่อยวาง ไม่น่ายึดถือไว้

สำคัญคือ บางครั้งเราฟังคำดีๆ ของครูบาอาจารย์มาพูด ก็เหมือนเราพูดได้หมดเพราะรู้แล้ว เข้าถึงภาวะนั้นแล้ว แต่ความจริงที่ปรากฏอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน จิตไม่ทำงานเป็นการรู้ การแช่อยู่กับไตรลักษณ์ของรูปนาม

เพราะเหตุคือตีสภาวะที่ปรากฏใหญ่น้อยเป็นศัพท์ เป็นโครงสร้างสัมพันธ์ละเอียดลออ ด้วยเกรงจะไม่เป็นการวิจัยธรรมเพื่อเพิ่มพูนสติปัญญา

ไม่ได้ตระหนักว่าพุทธิปัญญานั้น เป็นปัญญาชนิดละความคิด แต่เพิ่มความรู้ เพิ่มความปล่อยวางในสิ่งที่รู้ กระทั่งใจเกิดเป็นดวงสมาธิอีกแบบหนึ่ง

ตั้งต้นขึ้นมาก็ประจุเต็มด้วยอนัตตสัญญา พิจารณาอะไรก็รู้รอบตามปรากฏจริง ปล่อยวางได้จริง  ด้วยความเคารพนับถือและปรารถนาจะเห็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับธรรมะ  ในแบบที่คุณปารคเวสิโนปฏิบัติอยู่ครับ

จากคุณ : ดังตฤณ [ 2 มี.ค. 2543 / 20:57:28 น. ]


ผมกลุ้มใจกับ “ชมรมสมองหมา ปัญญาควาย” กลุ่มนี้เหลือเกิน  มันรู้และเข้าใจกันหรือเปล่าว่า เขียนอะไรกันไปมั่ง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น