บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

ธาตุธรรมปัญญาอ่อน


วันนี้มาวิพากษ์วิจารณ์ความคิดเห็นของ “ควายๆ ภูมิธรรม”  หรือ “ภูมิธรรมควายๆ” ที่เสนอไว้ในความคิดเห็นที่ 9 ดังนี้

พระสูตรที่คห 1 ยกมานั้นไม่เห็นจะเกี่ยวกับกายานุปัสสนาตรงไหน พระอนุรุทถามเรื่องสมาธินี่ครับ

ผมขอดูกายานุปัสสนาหมวดแสงสว่างในพระไตรปิฎกหน่อยครับ มี 18 กายไหม มีดวงๆ อะไรที่กล่าวมาไหม

เรื่องของเรื่องก็คือ มีคนใช้ชื่อว่า “ธาตุธรรม” ชอบไปตอบปัญหาที่เกี่ยวกับวิชาธรรมกาย  ก็แสดงตัวโอ้อวดว่า รู้วิชาธรรมกาย 

เท่าที่ผมอ่านดูแล้ว “ปัญญาอ่อน” มากกว่าที่จะรู้จักวิชาธรรมกายจริงๆ 

ปัญญาอ่อนธาตุธรรมนี้ ชอบตอบแซงเจ้าของกระทู้เป็นประจำ  ผมจึงตั้งชื่อให้ว่า “ธาตุธรรมปัญญาอ่อน

ควายๆ ภูมิธรรม”  หรือ ภูมิธรรมควายๆ” อ้างไปถึง คห. 1 คือ ความคิดเห็นที่ 1 นี่ก็แสดงว่า พอกระทู้เกิดปุ๊บ  ธาตุธรรมปัญญาอ่อนก็ตอบปั๊บเลย  ดูซิว่า คำตอบเข้าท่าเข้าทางดีหรือไม่


กายในกายข้างบนเป็นเรื่อง อานาปานสติ ที่ใช้พิจารณากายในกาย  เป็นสติปัฏฐาน แต่การในกายแบบที่สองนั้น อาศัย แสงสว่างและการเห็นรูป เป็นสติปัฏฐาน

[๔๕๒]  พ.  ดูกรอนุรุทธ  พวกเธอต้องแทงตลอดนิมิตนั้นแล  แม้เราก็เคยมาแล้ว เมื่อก่อนตรัสรู้  ยังไม่รู้เองด้วยปัญญาอันยิ่ง  ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ 

ย่อมรู้สึกแสงสว่างและการเห็นรูปเหมือนกัน  แต่ไม่ช้าเท่าไร  แสงสว่างและการเห็นรูปอันนั้นของเรา  ย่อมหายไปได้

เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า  อะไรหนอแล  เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้แสงสว่างและการเห็นรูปของเราหายไปได้ 

ดูกรอนุรุทธ  เรานั้นได้มีความรู้ดังนี้ว่า  วิจิกิจฉาแล  เกิดขึ้นแล้วแก่เรา  ก็วิจิกิจฉา เป็นเหตุสมาธิของเรา  จึงเคลื่อน 

เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว  แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไปได้ เราจักทำให้ไม่เกิดวิจิกิจฉาขึ้นแก่เราได้อีก  ฯ
....................................

[๔๖๖]  ดูกรอนุรุทธ  เรานั้นได้เจริญสมาธิมีวิตกมีวิจารบ้าง  ได้เจริญ  สมาธิไม่มีวิตก มีแต่วิจารบ้าง  ได้เจริญสมาธิไม่มีวิตกไม่มีวิจารบ้าง  ได้เจริญสมาธิมีปีติบ้าง  ได้เจริญสมาธิไม่มีปีติบ้าง  ได้เจริญสมาธิสหรคตด้วยสุขบ้าง  ได้เจริญสมาธิสหรคตด้วยอุเบกขาบ้าง  ฯ

ดูกรอนุรุทธ  เพราะสมาธิชนิดที่มีวิตกมีวิจารบ้าง  ชนิดที่ไม่มีวิตกมี  แต่วิจารบ้าง  ชนิดที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจารบ้าง  ชนิดที่มีปีติบ้าง  ชนิดที่ไม่มีปีติบ้างชนิดที่สหรคตด้วยสุขบ้าง  ชนิดที่สหรคตด้วยอุเบกขาบ้าง  เป็นอันเราเจริญแล้วฉะนั้นแล 

ความรู้ความเห็นจึงได้เกิดขึ้นแก่เราว่า วิมุตติของเราไม่กำเริบ  ชาตินี้  เป็นชาติที่สุด  บัดนี้ความเกิดใหม่ย่อมไม่มี ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว  ท่านพระอนุรุทธจึงชื่นชมยินดี  พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล  ฯ

จบ  อุปักกิเลสสูตร  ที่  ๘

เมื่อ “ควายๆ ภูมิธรรม”  หรือ ภูมิธรรมควายๆ” แย้งมาในความคิดเห็นที่ 9 ธาตุธรรมปัญญาอ่อน ก็ตอบมาอีกทีแบบสมองหมา ปัญญาควาย ดังนี้

ลองอ่านดูสิครับ พระพุทธเจ้า สอนพระอนุรุธ ว่าปฏิบัติ แสงสว่างและการเห็นรูป ตั้งแต่ก่อนตรัสรู้ จนมาตรัสรู้ธรรม และรู้ว่า จบกิจ

ส่วนอานาปานสติ เพิ่งจะมาใช้สอนภายหลัง กายานุปัสสนา ที่คุณยกมาเป็นเรื่องของการระลึกถึงกายหยาบนะครับ

แต่ธรรมกาย หลวงพ่อสด ยกเรื่อง กายหยาบนั้น ให้ปล่อยวาง ทิ้งไปเลย

"อย่าเลย วักกลิ ร่างกายอันเปื่อยเน่าที่เธอเห็นนี้ จะมีประโยชน์อะไร? ดูกรวักกลิ ผู้ใดแล เห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่า ย่อมเห็นธรรม. วักกลิเป็นความจริง บุคคลเห็นธรรม ก็ย่อมเห็นเรา บุคคลเห็นเราก็ย่อมเห็นธรรม."

แต่บางคนอินทรีย์อ่อน ปัญญิณทรีย์ไม่มาก ก็ต้องพิจารณากาย ความหมายของกายในกาย ก็คือ
ในกองแห่งสังขารนั้น ล้วนประกอบด้วย กองแห่งสังขารประกอบกันขึ้นมา ทำงานซ้อนกันอีก

การเห็นกายในกายของธรรมกาย ต้องอาศัยญาณทัศนะที่ จิตตั้งมั่นนะครับ ไม่ใช่คิดเอา แต่การเห็นกายในกาย แบบพิจารณากายหยาบ แบบจินตามยปัญญา ก็อาศัยคิดเอาก็ได้

กายานุปัสสนาหมวดแสงสว่าง ไม่มีหรอกครับ มีแต่คำสอนที่พระพุทธเจ้า สอนพระอนุรุธ

ดูกรอนุรุทธ  เพราะสมาธิชนิดที่มีวิตกมีวิจารบ้าง  ชนิดที่ไม่มีวิตกมี  แต่วิจารบ้าง  ชนิดที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจารบ้าง  ชนิดที่มีปีติบ้าง  ชนิดที่ไม่มีปีติบ้างชนิดที่สหรคตด้วยสุขบ้าง  ชนิดที่สหรคตด้วยอุเบกขาบ้าง  เป็นอันเราเจริญแล้วฉะนั้นแล  ความรู้ความเห็นจึงได้เกิดขึ้นแก่เราว่า   วิมุตติของเราไม่กำเริบ  ชาตินี้  เป็นชาติที่สุด  บัดนี้ความเกิดใหม่ย่อมไม่มี ฯ

ตรงนี้ยืนยันว่า   การเจริญสมาธิด้วยแสงสว่างและการเห็นรูป  จนได้ปัญญารู้แจ้ง  ความรู้ความเห็นจึงได้เกิดขึ้นแก่เราว่า วิมุตติของเราไม่กำเริบ  ชาตินี้  เป็นชาติที่สุด  บัดนี้ความเกิดใหม่ย่อมไม่มี ฯ

ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้น ชื่อว่าเห็นปฏิจจสมุปบาท ดังนี้.เห็นด้วยตา ธรรมกายนะครับ

คำตอบของ ธาตุธรรมปัญญาอ่อน ซึ่งผมยกให้เป็นพวกสมองหมา ปัญญาควายไปด้วยแล้วนั้น ไม่ได้ตอบปัญหาอะไรเลย

ธาตุธรรมปัญญาอ่อน ซึ่งตอนนี้ บวกสมองหมา ปัญญาควายไปด้วยนั้น ไม่ได้รู้ ไม่ได้เข้าใจวิชาธรรมกายจริงๆ  แต่ “เสือก” อยากตอบเท่านั้น

โดยหลักการนั้น  เราต้องถาม “ควายๆ ภูมิธรรม”  หรือ ภูมิธรรมควายๆ” ก่อนว่า “การเห็นกายในกาย” ของมึงนั้นเป็นอย่างไร

มึงว่ามาก่อนเลย

แล้วก็ถามต่อไปว่า การเห็นกายในกายของวิชาธรรมกายนั้น เป็นอย่างไร ผิดอย่างไรในความคิดเห็นของมึง  มึงว่ามาเลย

สุดท้ายก็คือ  มึงเปรียบเทียบให้กูดูหน่อยว่า การเห็นกายในกายของวิชาธรรมกาย ไม่ตรงกับกายานุปัสสนาสติปัฏฐานอย่างไร

เมื่อ “ควายๆ ภูมิธรรม”  หรือ ภูมิธรรมควายๆ” อธิบายมาแล้ว เราถึงจะหาทางโต้แย้งกันได้

นี่มันถามมาแค่นั้น  พวกสมองหมา ปัญญาควายก็ “ลงความเห็น” กันใหญ่โต แต่ไม่ได้เรื่องเลย ทั้งหมด ทั้งกระทู้

ที่นี้มาดูความมั่วของ ธาตุธรรมปัญญาอ่อน กันสักหน่อย ที่ข้อความนี้

กายในกายข้างบนเป็นเรื่อง อานาปานสติ ที่ใช้พิจารณากายในกาย  เป็นสติปัฏฐาน แต่การในกายแบบที่สองนั้น อาศัย แสงสว่างและการเห็นรูป เป็นสติปัฏฐาน

นี่เป็นหลักฐานที่ชัดเจนที่สุดว่า ธาตุธรรมปัญญาอ่อน ไม่ได้รู้เรื่องอะไร แต่กิเลสหนัก กิเลสหนาอยากตอบ

คำตอบมันผิดชัดๆ

สติปัฏฐานสูตร เฉพาะกายานุปัสสนาสติปัฏฐานมี 14 บรรพะ ดังนี้

  • อานาปานบรรพะ
  • อิริยาปถบรรพะ
  • สัมปชัญญบรรพะ
  • ธาตุมนสิการบรรพะ
  • ปฏิกูลมนสิการบรรพะ
  • นวสีวถิกาบรรพะ  (มี 9 อย่าง)

ทุกบรรพะจะลงท้ายเหมือนกันคือ

ภิกษุย่อม
พิจารณาเห็น กายในกายภายในบ้าง
พิจารณาเห็น กายในกายภายนอกบ้าง
พิจารณาเห็น กายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง
พิจารณาเห็น ธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง
พิจารณาเห็น ธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง
พิจารณาเห็น ธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง

ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า

พิจารณาเห็น กายในกายอยู่ ฯ

กล่าวคือ ในแต่ละบรรพะ ในการพิจารณาเริ่มต้นนั้น แตกต่างกันไป แต่สุดท้ายต้องลงมาเหมือนกัน ดังข้อความข้างต้น

ธาตุธรรมปัญญาอ่อนเขียนไปได้อย่างไรว่า

กายในกายข้างบนเป็นเรื่อง อานาปานสติ ที่ใช้พิจารณากายในกาย  เป็นสติปัฏฐาน แต่การในกายแบบที่สองนั้น อาศัย แสงสว่างและการเห็นรูป เป็นสติปัฏฐาน

โดยสรุป  ในการตอบปัญหาของ “ควายๆ ภูมิธรรม”  หรือ ภูมิธรรมควายๆ” เราต้องถามควายตัวนี้ก่อนว่า

“การเห็นกายในกาย” ของมึงนั้นเป็นอย่างไร

มึงเป็นคนตั้งกระทู้ เป็นความรับผิดชอบของมึง มึงต้องอธิบายมาให้ได้ก่อน ..



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น