สาวกของพระพม่านั้น
จะหลงผิดไปตามพระพม่าว่า การปฏิบัติธรรมแบบยุบหนอพองหนอ หรือแบบนามรูปเท่านั้น
ที่จะทำให้บรรลุพระอรหันต์อย่างรวดเร็วปานกามนิตหนุ่ม
ไม่ต้องทำสมถกรรมฐานเลยก็ยังได้
คำสอนดังกล่าวทำให้คนไทย
พวกชอบ “แดกด่วน” ติดใจ หลงผิด
ทิ้งการปฏิบัติธรรมแบบไทยๆ เช่น สายพุทโธ สายนะมะพะทะ และสายวิชาธรรมกาย เป็นต้น
ไปสมาทานการปฏิบัติธรรมแบบพม่ากันอย่างหน้าตาเฉย
พระพม่าจะเน้นเรื่องการเห็นกายในกายมากเป็นพิเศษ
แต่ผมยังไม่เคยเห็นคำอธิบายที่เป็นรูปธรรมจากสาวกของพระพม่า
รวมถึงตัวพระพม่าเองด้วย ทั้งๆ ที่ผมพยายามอ่านหนังสือของสาวกพระพม่ามาเป็น 10
ปีแล้ว
คำอธิบายของพระพม่ามีแต่มั่วไป
มั่วมา ยกตนข่มท่านอย่างเดียว
ปฏิบัติธรรมกันที
7 วัน 15 วัน ปฏิบัติธรรมกันมาเป็นสิบๆ ปี
ผมก็ยังไม่เห็นมีใครบรรลุมรรคผล ภายใน 7 ปี 7 เดือน 7 วัน
ตามที่โฆษณาไว้เลย
อย่างต้องฟ้องสำนักงานคณะกรรมการผู้คุ้มครองผู้บริโภคว่า
โฆษณาเกินจริง
พระพม่ามีคำอธิบายเกี่ยวกับสติปัฏฐาน
4 ไว้เพียงแค่กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ส่วนเวทนา จิต ธรรมนั้น อธิบายมั่วๆ มั่วมา
ไม่รู้เรื่อง ทั้งคนเขียนและคนอ่าน
เฉพาะกายานุปัสสนาสติปัฏฐานก็อธิบายอย่างมั่วๆ
และไม่รู้เรื่องเช่นเดียวกัน
ผมขอยกสติปัฏฐานสูตรสั้นๆ
ดังนี้
๙. มหาสติปัฏฐานสูตร (22)
[273] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในกุรุชนบท มีนิคมของชาวกุรุ
ชื่อว่ากัมมาสทัมมะ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า
พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก
เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ
เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน
หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ ๔ ประการ เป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะมีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑
พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ ฯ
จบอุทเทสวารกถา
[274] อานาปานบรรพ เป็นกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
[275] อิริยาปถบรรพ เป็นกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
[276] จบสัมปชัญญบรรพ เป็นกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
[277] ปฏิกูลมนสิการบรรพ เป็นกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
[278] ธาตุมนสิการบรรพ เป็นกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
[279] นวสีวถิกาบรรพ 1 เป็นกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
[280] นวสีวถิกาบรรพ 2 เป็นกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
[281] นวสีวถิกาบรรพ 3 เป็นกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
[282] นวสีวถิกาบรรพ 4 เป็นกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
[283] นวสีวถิกาบรรพ 5 เป็นกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
[284] นวสีวถิกาบรรพ 6 เป็นกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
[285] นวสีวถิกาบรรพ 7 เป็นกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
[286] นวสีวถิกาบรรพ 8 เป็นกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
[287] นวสีวถิกาบรรพ 9 เป็นกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในภายนอกบ้าง
พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเสื่อมในกายบ้าง
พิจารณาเห็นธรรม คือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง
ย่อมอยู่อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่ากายมีอยู่ก็เพียงสักว่าความรู้เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น
เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้วและไม่ถือมั่นอะไรๆในโลกดูกรภิกษุทั้งหลายอย่างนี้แลภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ฯ
จบนวสีวถิกาบรรพ
จบกายานุปัสสนา
ขอให้พิจารณาที่ผมทำตัวหน้าและขีดเส้นใต้ไว้ให้มากๆ
หน่อย ขอยกมาอีกทีดังนี้
1)
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ภายในบ้าง
2)
ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย ภายนอกบ้าง
3)
ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในภายนอกบ้าง ข้อนี้แบ่งออกเป็น 2 ข้อย่อย คือ
3.1) ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายของคนอื่น
3.2) ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายภายนอกของคนอื่น
ในทางภาษาศาสตร์แล้ว ควรแปลแบบนี้
1)
ภิกษุย่อม ตามเห็น กายในกาย ณ ภายในบ้าง
2)
ภิกษุย่อม ตามเห็น กายในกาย ณ ภายนอกบ้าง
3)
ภิกษุย่อม ตามเห็น กายในกาย ณ ภายใน ณ ภายนอกบ้าง
ข้อนี้แบ่งออกเป็น 2 ข้อย่อย คือ
3.1) ภิกษุย่อม ตามเห็น กายในกายของคนอื่น
3.2) ภิกษุย่อม ตามเห็น กายในกาย ณ ภายนอกของคนอื่น
ผมขอให้ผู้อ่านพิจารณาอย่างเป็นกลางว่า
มีคำสอนของพระพม่ากับสาวกของพระพม่าอธิบายไว้อย่างชัดเจนบ้างไหม
ผมฟันธงไปเลยว่าไม่มี
ไม่ต้องพระพม่าก็ได้
พระไทย นักปริยัติไทยก็ไม่มีใครอธิบายได้อย่างเป็นวิชาการ ให้หลักฐาน และพิสูจน์ได้
โดยเฉพาะพระพม่าแล้ว
อะไรก็เห็นไม่ได้ เห็นอะไรก็ผิดหมด แล้วจะมาเห็นกายในกายได้อย่างไร..
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น