บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

กายในกาย-ดังตฤณ[03]

ในบทความ “กายในกายคืออะไร[1-2]” ผมได้นำเสนอความเป็นสมองหมา ปัญญาควายของสาวกยุบหนอพองหนอไปแล้วบางส่วน

บทความนี้จะเป็นเนื้อหาที่พวกชมรมสมองหมา ปัญญาควายให้ความรู้โง่ๆ แก่กันเป็นบทความสุดท้าย บทความต่อๆ ไป จะเป็นการวิพากษ์วิจารณ์

การแสดงความเห็นของกระทู้ “กายในกายคืออะไร” ของชมรมสมองหมา ปัญญาควายนั้น ดูเหมือนจะเป็นการสร้างพระเอกขึ้นมาใหม่คือ “คุณปารคเวสิโน” ดังตฤณนั้น ถูกขโมยซีนไปเรียบร้อยโรงเรียนจีน

มีผู้ใช้นามแฝงว่า “WhiteSpirit” เข้ามาถาม ดังนี้ 

คำว่าสติปัฏฐาน ๔ กับ สติปัฏฐาน เป็นของอย่างเดียวกัน ๑๐๐% หรือไม่?

เอกกายโน มัคโค ควรแปลว่าทางสายเอก หรือว่าทางสายเดียว? เพราะเหตุใด (คือคำว่าทางสายเอก กับทางสายเดียวนั้น ความหมายต่างกันมากเหมือนกัน)

เรื่องการพิจารณาให้เห็นกายในกาย ในกายานุปัสสนาว่า คือการพิจารณาให้เห็น กายภายนอกคือกายที่เรารู้เห็นตามปกติ และกายภายในนั้นคือสภาวะของกายที่ แท้จริงที่ถูกปิดบังอยู่ เข้าใจว่ากายภายนอกและกายภายในของคุณปารคเวสิโนก็คือกายหยาบและกายละเอียด

ข้อนี้ผมสงสัยว่ากายละเอียดจะถูกรู้และเห็นได้ด้วยการ"พิจารณา" หรือ?

กายานุปัสสนา การพิจารณาให้เห็นกายในกาย จะจำกัดเฉพาะผู้ได้อุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิเท่านั้นหรือ? (แล้วกรณีผู้ที่ได้แค่ขณิกะสมาธิเท่านั้น)

การพิจารณากายในกาย ของผู้ที่ได้ฌานกับผู้ที่ไม่ได้ฌาน สิ่งที่รู้เห็นอาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน ๑๐๐% ก็ได้ แต่ถ้าผลที่ได้ คือการคลายความยึดมั่นถือมั่นในกาย ไม่เห็นว่ากายนี้มีตัวตนอันแท้จริง สักแต่ว่าเป็นที่ประชุมกันของธาตุ ๔ หรือองค์ ประกอบย่อยๆ ซึ่งต้องผุพังเสื่อมสลายไปฯลฯ ก็น่าจะใช้ได้เหมือนกัน

การเจริญสติปัฏฐานผมกล่าวว่าเป็นทางสายเดียว รับรองไม่ผิดแน่ เพียงแต่ทางสายนี้มีถึง ๔ ประตู แต่ละประตูมีกัมมฐานอีกหลายอย่าง

ต่อคำกล่าวนี้ ไม่ทราบว่าถ้าผมจะอุปมา เป็นประตูมีประตูเดียว แต่มีทางหรือ วิธีการที่จะไปถึงประตูนี้หลายทางหลายวิธี ไม่ทราบว่าคุณปารคเวสิโน มีความคิดเห็นอย่างไร

อุปมาว่าประตู ก็คลาดเคลื่อนแล้ว คุณปารคเวสิโนจะให้มีตั้ง ๔ ประตูเลยหรือ?

ยินดีที่ได้สนทนาธรรม กับคุณปารคเวสิโน :-)

คุณปารคเวสิโน ได้เข้ามาตอบในความเห็นที่ 17 ดังนี้

คำว่าสติปัฏฐาน ๔ กับสติปัฏฐาน ก็อันเดียวกัน เพียงแต่ที่มี ๔ เพราะท่านย้ำให้รู้ถึงกาย เวทนา จิต ธรรม เหมือนคำว่า ศีล จะเรียก ศีล ๕ ก็หมายถึง ศีลที่มี ๕ ข้อ ศีล ๘ หมายถึง ศีล ๘ ข้อ ที่จริงสติปัฏฐานจะเรียกว่า ๔๐ ก็จะหมายถึง แต่ส่วนกายานุปัสสนา เป็นการนับกัมมฐานทั้ง ๔๐ ก็ได้ครับ

แล้วแต่จะเรียก เช่นเดียวกับตัณหา จะนับเป็น ๑ ก็ได้ จะแจงเป็นตัณหา ๓ ก็ได้แง่หนึ่ง จะแจงเป็น ๑๐๘ ก็ได้ แล้วแต่จะแจง

สรุปคือ สติปัฏฐาน ถ้าแบ่งใหญ่สุด ได้เป็น ๔ ครับ

ทางสายเอก กับทางสายเดียว เป็นเรื่องของภาษา ที่จริง เอก แปลว่า หนึ่ง โทแปลว่าสอง ภาษาไทยเรารับมาแล้วใช้เป็นทางเอก ก็เลยมีทางโท ทำให้สับสนว่าเมื่อเป็นทางเอก ก็น่าจะมีทางอื่นอีกคือเป็นทางโท ทางตรี

แต่ที่จริง ควรแปลว่า ทางสายหนึ่ง หรือทางหนึ่งสาย ที่ผมแปลของผมอย่างนี้ เพราะโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ธรรมซึ่งเป็นองค์แห่งการตรัสรู้นั้น เริ่มแรกสุดก็คือ สติปัฏฐาน นี้เอง

ดังนั้น จะเห็นว่า หากเป็นทางสายนี้สายเดียวในการเริ่มต้นแล้ว จะไม่สามารถไปเข้าตรงกลางทางหรือทางอื่นได้

นอกจากนี้ ในพระอรรถกถาทั้งหลายยังย้ำอีกว่า สติปัฏฐานเป็นบุพมรรค คือเป็นทางต้น ซึ่งนำไปสู่มรรคที่เป็นโลกุตตระ คือ มรรคมีองค์๘ (ที่เริ่มด้วย สัมมาทิฎฐิ เป็นต้น) นั้นเอง

มีหลายท่านแปลว่า เป็นทางสายเดียว ที่ต้องเดินไปคนเดียว ไม่ใช่ไปเป็นหมู่ กรณีนี้ ผมไม่เห็นด้วย เพราะที่จริงการปฏิบัติธรรมนั้น ต้องปฏิบัติคนเดียวอยู่แล้ว ใครจะบรรลุธรรมก็ต้องเป็นคนนั้นเองที่เห็นสภาวธรรมจริง ไม่ใช่ให้คนอื่นเห็นแล้วมาเล่าให้ฟังทำให้ผู้ฟังสามารถบรรลุธรรมไปด้วย ได้ 

พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร เมื่อมีผู้ถามท่านว่ารู้ธรรมมาจากใคร ท่านตอบว่ารู้เอง ผู้ถามพากันไปฟ้องพระศาสดาว่าท่านจ้วงจาบพระศาสดา พระศาสดาเรียกท่านมาถาม ท่านก็รับว่าตอบไปเช่นนั้นจริง

พระศาสดาตรัสสาธุการ เพราะที่พระศาสดาชี้แนะทางนั้น ก็เป็นการชี้แนะ ท่านไม่สามารถทำให้ใครๆบรรลุธรรมได้ ได้แต่ชี้แนะทางนี้ให้เท่านั้น ผู้จะบรรลุธรรมต้องปฏิบัติเอง เห็นเอง นี้เองเป็นความหมายของคำว่า ปัจจัตตัง

ดังนั้น ผมเห็นว่า ต้องแปลว่าเป็นทางสายเดียว หนึ่งเดียว ไม่ใช่มีทางโทอีก และไม่จำเป็นต้องแปลว่า เป็นทางสำหรับคนเดียวอีก เพียงแต่ทางนี้ยาวหน่อย ต้องผ่านไปถึงสัมมัปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ สุดท้ายคือ มรรค จึงบรรลุปลายทาง

กายหยาบ กายละเอียด ผมไม่แน่ใจว่า มีอยู่ พระบาลีสติปัฏฐาน ปกติกายหยาบจะหมายถึง กายของมนุษย์ และสัตว์เดรัจฉาน และอสุรกายบางพันธ์ อันประกอบไปด้วยธาตุหนัก

แต่กายละเอียด หมายถึง กรัชกาย ซึ่งเป็นกายของพวกเทพบางจำพวก หรือรูปพรหม ซึ่งเป็นเหมือนละอองน้ำ หากถูกต้องด้วยธาตุหนัก แม้แต่เมล็ดฝนก็มีอันต้องแตกสลายไป 

แต่ถ้าเป็นกายหยาบ กายละเอียด ซึ่งเผยแพร่โดยพระอาจารย์บางท่าน ถึงขนาดมีกายโสดาบัน กายสกทาคามี ฯลฯ กายเหล่านั้นผมไม่รู้จัก ต้องขออภัย

การเจริญวิปัสสนา ใช้เพียงขณิกสมาธิ (คือ สมาธิในอารมณ์-สิ่งที่จิตรู้ ชั่วขณะที่อารมณ์นั้นปรากฏ)

กล่าวคือ เมื่อจิตรู้อารมณ์ใดก็มีสมาธิในอารมณ์นั้น พออารมณ์เปลี่ยนก็มีสมาธิเปลี่ยนไปอารมณ์ใหม่ คือ จับเอาแต่อารมณ์ที่เป็นปัจจุบันเท่านั้น ต่างจากอุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ ที่จับอยู่ที่อารมณ์เดียว

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเพ่งกสิณ เอาดินสีอรุณมาเป็นกสิณ แล้วเพ่งอยู่ตลอด ไม่สนใจเสียง หรือภาพอื่น เพ่งอยู่แต่ดินที่เป็นกสิณนั้น จนกระทั่งหลับตาแล้วก็ยังเห็นดินนั้น เป็นการทำให้จิตอยู่กับอารมณ์หนึ่งเดียว

ในที่สุดเกิดนิมิต (เครื่องหมาย) อย่างนี้เป็นอุปจารสมาธิ ในที่สุดแนบแน่นไปกว่านั้นอีกจนถึงขั้นขยายนิมิตได้ ย่อนิมิตได้ จนกระทั่งแนบแน่นถึงขนาด ใครมาพูดก็ไม่ได้ยิน ใครมาผลักก็ไม่รู้สึก อย่างนี้ถึงขั้นอัปปนาสมาธิ

ส่วนขณิกสมาธิ เช่น ขณะเห็นภาพ ก็มีสติอยู่ในการเห็นภาพนั้น พออารมณ์เปลี่ยนไป มีเสียงอะไรผ่านเข้ามา จิตเราไปสนใจในเสียง ก็มีสติตามรู้ในการได้ยินแทน เป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆด้วยความวิริยะ จึงเป็นขณิกสมาธิ จึงจะเป็นทางให้เห็นความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ บังคับบัญชาไม่ได้

อุปจาระ กับ อัปปนา ท่านใช้เพื่อเจริญสมถภาวนา คือ เจริญฌาน เพื่อความสงบจิต เกิดปีติ เกิดสุข ในที่สุดเกิดอุเบกขา บรรลุรูปฌาน  อรูปฌาน

ขณิกสมาธิ มีกำลังมาก และทำยากด้วย เมื่อสติตามดู จนเกิดเป็นขณิกสมาธิได้ จะเกิดสมถะไปในตัว แต่ไม่ถึงขั้นไปเกิดฌาน นอกจากนี้ สมถะนั้นเป็นบาทของปัญญา ไม่แซงหน้าปัญญา และไม่ได้ใช้เพื่อการภาวนาให้เกิดฌาน เกิดอภิญญา

ผมเองก็ไม่ได้ฌาน จึงต้องตอบตามความเชื่อของผม

ผู้ที่ได้ฌานที่จะเจริญวิปัสสนาโดยใช้ฌานเป็นบาทนั้น ต้องออกจากฌานแล้วใช้องค์ฌานนั้นมาพิจารณา เช่น เมื่อเกิดปีติ หรือสุขที่เด่นชัด ท่านต้องออกจากฌาน แล้วพิจารณาปีติ หรือสุขนั้น ในที่สุดเห็นไตรลักษณ์ว่า เกิดแล้วดับ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง บังคับไม่ได้ เช่นกัน ซึ่งกรณีนี้อาจเป็นเวทนานุปัสสนา หรือธัมมานุปัสสนา

ดังนั้น กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม ต่างก็มีความหมายเหมือนกันไม่ได้จะเป็นสำหรับผู้ได้ฌานหรือไม่ได้ฌาน

ส่วนที่ว่า ขอให้ไม่ยึดมั่นก็พอแล้วนั้น ผมเห็นว่า อันนี้เป็นผลที่เกิดขึ้นจากการเจริญวิปัสสนาจนเกิดปัญญาแน่นแฟ้น ไม่ใช่ว่าคิดจะไม่ถือมั่นก็ไม่ถือมั่นได้

ลองนึกดูว่า อยู่ๆคนๆ หนึ่งซึ่งอยู่กับกิเลส และความเป็นตัวเป็นตนมาตลอดไม่รู้กี่ชาติ และไม่เคยเจริญวิปัสสนาเห็นไตรลักษณ์จริงๆ จะมาบอกว่า เอาละ จะไม่ยึดมั่นถือมั่นแล้วนั่น ย่อมเป็นไปไม่ได้

ที่บอกว่าไม่ยึดมั่นนั้น เขายังเห็นตัวเขาเป็นตัวเขาอยู่หรือไม่ ผมคงต้องคำอธิบายว่า ที่ไม่ยึดมั่นในตัวตนนั้น เห็นว่าไม่เป็นตัวตนอย่างไร

ดังนั้น ผมเชื่อว่า การจะไม่เห็นเป็นตัวตนนั้น คือ ต้องเห็นสภาวธรรมจริงๆ ว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอิสระบังคับบัญชาไม่ได้ และยังต้องเห็นอย่างแน่นแฟ้น จนถึงโสดาบัน หรือจุฬโสดา (น้องๆโสดา) จึงจะทำลายความไม่ยึดมั่นในตัวตน(สักกายทิฏฐิ)ได้

เรื่องอุปมาว่า กายานุปัสสนา เวทนานุปัสสนา ฯลฯ เป็นเหมือนประตูเข้าเมือง ๔ ประตู จะเข้าประตูไหนก็ได้ แล้วแต่จริตและอัธยาศัยหรืออุบายนั้น ผมเอาจากพระอรรถกถา ขอให้ดูในสติปัฏฐาน หรือมหาสติปัฏฐานสูตร

ผมว่า พระ เถระผู้รจนานั้น ท่านเปรียบไว้ดีจริงๆ เห็นภาพพจน์ทีเดียว ที่จริง ๔ ประตูนี้ไม่มากหรอกครับ เราจะเข้าให้ได้จริงๆ ในยุคนี้ สมัยนี้ ผมว่า ประตูเดียวที่ง่ายที่สุด เหมาะกับคนกิเลสหนาปัญญาหยาบอย่างเราๆ ก็เข้ายากเต็มทีแล้ว อีก ๓ ประตูยิ่งยากกว่านี้ จะมีประโยชน์อะไร

ที่น่าสลดใจ ก็คือ คนส่วนใหญ่ (ประมาณ 95% ตามสถิติของผม) ไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามีประตูนี้อยู่ ต่างพากันไปเข้าทางอื่นซึ่งคิดว่าเป็นประตู โดยไม่รู้ว่านี่เป็นประตู

บางคนรู้ว่าเป็นประตู แต่ไม่รู้ว่าจะเข้าได้อย่างไร หลายคนพยายามปฏิบัติสมาธิที่เป็นมิจฉา ไม่ถูกหลักสมถภาวนาที่ถูกต้อง

หลายคนมุ่งสมถภาวนาแล้วเข้าใจว่าเป็นวิปัสสนา สมถภาวนาก็มีดีของสมถภาวนา เป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญา แต่ต้องเป็นสัมมา คือ ถูกต้องตามที่พระศาสดาแสดงไว้ ผมไม่ขอแสดงความเห็นมากในเรื่องนี้ครับ เพราะผมไม่ได้ปฏิบัติสมถภาวนามามากพอ

ต่อมา คุณประสงค์ มีนบุรี ได้เข้ามาถามในความเห็นที่ 20 ว่า

สวัสดีครับ  คุณ  ปารคเวสิโน

กายภายนอกหมายถึง กายที่เห็นและรู้ด้วยตาเนื้อ ส่วนภายภายในรู้ได้ด้วยทวารที่ ๖ คือ มโนทวาร กายที่เห็นด้วยและรู้ด้วยตาเนื้อ  คือกายอย่างไรครับ  กายภายในที่รู้ด้วยทวารที่ 6 (มโนทวาร)  คือกายอย่างไรครับ

คุณปารคเวสิโน ตอบความเห็นของคุณประสงค์ มีนบุรี ดังนี้

ผมต้องขอย้ำก่อนนะครับ ว่านี่เป็นอัตโนมติ คือ ความเห็นของผมเอง ซึ่งผิดครูบาอาจารย์เขา ถ้าสนใจขอให้รับฟังไว้เพื่อคิดดูเท่านั้น

ผมเห็นว่าในสติปัฏฐาน ที่กล่าวว่าให้พิจารณากายในกาย จิตในจิต ฯลฯ นั้น ที่ว่ากายในกาย น่าจะหมายถึง ให้พิจารณาให้ลึกเข้าไปอีกชั้นหนึ่ง

ที่ว่าพิจารณาให้ลึกเข้าไปอีกชั้นหนึ่งนั้น  คือ ปกติ กายที่เรารู้จักนั้น เรารู้ได้โดยผัสสะต่างๆที่เกิดจากปัญจทวาร

คือ การที่เราเห็นด้วยตา (เห็นมือ เห็นเท้าของเราเอง หรือของผู้อื่น) ได้ยินด้วยหู (เช่น ตีมือดังเผียะ ท้องร้องจ๊อก) ได้กลิ่น (กลิ่นเนื้อตัว) ได้รส (รสชาติทั้งหลายจากลิ้น) ได้สัมผัสทางกาย (ตบยุง มือลูบตัว รู้สึกถึงลมพัด รู้สึกสัมผัสเสื้อผ้า)

ทั้ง ๕ ทวารนี้ ทำให้เรารู้ว่ากายมีอยู่  กายที่รู้ด้วยผัสสะทั้ง ๕ ทางนี้ ประกอบกันเข้าเป็นกายที่เราเข้าใจมาตลอดตั้งแต่เด็ก กายนี้เอง ผมเข้าใจว่า ท่านเรียกว่า กาย(ปกติ)

แต่การที่ท่านให้พิจารณากายในกาย เมื่อพิจารณาลึกเข้าไปอีกชั้นหนึ่งนั้น คือ การที่ใช้ใจรับรู้การมีอยู่ของกายนั้นๆ

อิริยาบถนั่ง ซึ่งเป็นหนึ่งในอิริยาบถใหญ่ ๔ อย่างในอิริยาบถบรรพนั้น เกิดขึ้นจากการที่ใจรับรู้สภาวะความเป็นกายนั้น

ถ้าถามว่า นั่งอยู่ที่ไหน ถ้าคิดว่าอยู่ที่ก้น เพราะก้นกระทบอยู่กับเก้าอี้ อย่างนี้เป็นกายสัมผัสที่รับรู้โผฏฐัพพารมณ์ ไม่ใช่รู้ด้วยใจ

เพราะเมื่อยืนขึ้นแล้ว ก้นก็ยังมีอยู่ แต่อิริยาบถนั่งนั้นหายไปแล้ว ที่หายไปนั้น ก็เพราะกายที่อยู่ในรูปนั่งเดิมนั้นได้หายไปจากใจแล้ว อิริยาบถจริงได้เปลี่ยนไปเป็นอิริยาบถยืนแทนแล้ว

มรรคที่จะเกิดได้จะเกิดร่วมกับมโนทวารเท่านั้น

ข้อนี้เป็นข้อที่มหายาน หรือต้นรากของมหายาน คือ มหาสังฆิกะ เข้าใจผิดว่ามรรคเกิดร่วมกับปัญจทวารได้ (โปรดดูกถาวัตถุปกรณ์ ปัญจทวารมัคคสมังคิกถา)

กายในกาย ตามความเห็นของผม คือ กายที่รู้ได้ด้วยใจ เมื่อใจเราไหวไปรับรู้เสียงที่ผ่านมา รับรู้ภาพที่เห็น ก็เป็นการที่กายในกาย ซึ่งเดิมรับรู้อยู่ด้วยใจนั้นหายไปแล้ว

กายในกาย จะเห็นได้จำเป็นต้องอาศัยวิเวกเท่านั้น มิฉะนั้น ใจของเราซึ่งปกติจะสนใจอยู่แต่ภาพ เสียง เรื่องราวต่างๆ จะไม่สามารถรู้สึก และตั้งสติจับอยู่ที่กายในกายนี้ได้

ลองนึกดูว่า ใน ๑ นาที ใจเราไหวไปสนใจอารมณ์ต่างๆอะไรบ้าง กี่ร้อยอย่าง ถ้าไม่มีวิเวก

การมีสติตามดู (คือ ตามรู้ด้วยใจ) นี้ ต้องไม่ใช่เป็นการเป็นตัวเป็นตนไปบังคับจดจ้องกายให้นั่งนิ่งๆเพื่อจะดูอิริยาบถนั่งด้วย

แต่ต้องเป็นไปในลักษณะธรรมชาติ คือ คอยตามดู ตามรู้ให้ทัน  มิฉะนั้น จะกลายเป็นสมถะ ยึดอยู่ในอารมณ์เดียว และคอยไปยึดบังคับอิริยาบถนั่งให้นิ่งอยู่ เสียธรรมชาติไป

ยังต้องมีโยนิโสมนสิการอีกมากมายในระหว่าง การตามรู้นี้

ดังนั้น พระศาสดาจึงให้ภิกษุอาศัยความวิเวก คือ อยู่ผู้เดียว ก็คือ การเข้าวิปัสสนากรรมฐานนั่นเอง

มิฉะนั้น การตามดูนี้จะขาดตอน เพราะในชีวิตความเป็นอยู่ประจำวันนั้น จำเป็นต้องนึกถึงเรื่องราวต่างๆ ซึ่งเป็นบัญญัติ

เรื่องราวที่เป็นบัญญัติ เช่น หญิง ชาย รถ ต้นไม้ ไม่สามารถแสดงไตรลักษณ์ได้ ผมจึงเห็นว่า กายในกาย น่าจะมีความหมายอย่างนี้ เพราะผมลองใช้ความเห็นนี้ กับเวทนาในเวทนา จิตในจิต ฯลฯ ก็ใช้ได้เหมือนกัน

ความเห็นนี้ อาจจะผิดได้นะครับ เพราะมันขวางๆโลกยังไงอยู่

ในความหมายของผมนี้  ตับไตไส้พุง อวัยวะน้อยใหญ่ ก็เป็นกายในกายได้ ถ้ารู้ด้วยใจ

ขณะเดียวกัน ก็เป็นกายภายนอกได้ ถ้าเอาตับไตนั้นออกมาดู มาเห็น มาสัมผัสด้วยมือ คือ มารู้ด้วยปัญจทวารนั่นเอง

ทำนองเดียวกัน รูปกายภายนอก ก็อาจเป็นกายภายในได้ ถ้ารู้ด้วยใจ ก็คือ อิริยาบถใหญ่ อิริยาบถย่อย ซึ่งต้องรู้ด้วยใจนั่นเอง

หวังว่าความเห็นนี้ คงเป็นประโยชน์บ้างครับ

ขอให้ท่านผู้อ่านที่มีความอดทน ลองอ่านดู จะเห็นความเป็นสมองหมา ปัญญาควายของคนกลุ่มนี้ ได้เป็นอย่างดี  คือ อ่านไปทั้งหมดแล้ว ก็ยังไม่รู้ “กายในกายคืออะไร”



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น